สายตาสั้น (Myopia , Nearsight)

 



สาเหตุของสายตาสั้น

  • กระจกตาโค้งเกินไป หรือ กระบอกตามีความยาวเกินไป ทำให้แสงจากวัตถุโฟกัสก่อนถึงจอประสาทตา จึงทำให้เกิดอาการมองระยะไกลไม่ชัด
  • โดยสายตาสั้นสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งจะทำให้เกิดสายตาสั้นในเด็กแรกเกิดได้
  • การใช้ชีวิตประจำวันที่ใช้สายตาอย่างไม่ถูกต้อง เช่น อ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์ในที่มืด ,ใช้สายตากับหน้าจอมากเกินไป สามารถทำให้เกิดสายตาสั้นได้

 

อาการของผู้ที่มีสายตาสั้น

  • มองระยะไกลไม่ชัด เบลอ พร่ามัว ต้องหรี่ตาหรือต้องเพ่งมากขึ้น
  • มีอาการมึนหัว ปวดหัวร่วมได้เนื่องจากการเพ่งทำให้ใช้กล้ามเนื้อตามากขึ้น
  • มองระยะใกล้ได้ชัดเจน (จะมองระยะใกล้ได้มากกว่าคนสายตาปกติ)

การรักษาผู้มีอาการสายตาสั้น

  • ตรวจวัดสายตากับจักษุแพทย์ เพื่อทำการตัดแว่นให้เหมาะสม 
  • การใส่คอนแทคเลนส์ สำหรับการใส่คอนแทคเลนส์ ต้องปฏิบัติตัวให้เหมาะสมอย่างเคร่งครัด เนื่องจากการใส่คอนแทคเลนส์มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ดวงตาได้
  • การแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์ เช่น การทำเลสิก (LASIK) , การทำ PRK โดยปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ดีมากขึ้น อย่าง เลสิคไร้ใบมีด (Femto Lasik) , Trans PRK 
  • การใส่เลนส์เสริมชนิดฝังในเลนส์ตา เช่น การใส่เลนส์ ICL (Implantable Collamer Lens)

  

สำหรับในเด็ก เมื่อพบว่าบุตรหลานของท่าน เริ่มมีอาการสายตาสั้น ให้สังเกตจากพฤติกรรมของเด็ก เช่น หยีตา เพ่งตา เวลามองระยะไกล , เวลาอ่านหนังสือหรือมองระยะใกล้ จะมองเข้าใกล้กว่าปกติ ให้รีบพาบุตรหลานของท่านพบจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้เกิดอาการตาขี้เกียจ หรือ Lazy Eye กับบุตรหลานของท่านได้